ธรรมอันทำให้งาม
๑. ขันติ คือ ความอดทน
๒. โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยม
ขันติ และ โสรัจจะ ชื่อว่า ธรรมอันทำให้งาม คำว่าทำให้งามนั้น อธิบายว่า ความงามมีอยู่ ๒ ประการ คืองามภายนอก กับ งามภายใน
๑. ขันติ แปลว่า ความอดทน เป็นลักษณะของผู้มีมีน้ำใจเข้มแข็งหนักแน่น เป็นสมบัติของนักรบด้วย เป็นมงคลเหตุแห่งความเจริญด้วย
ความอดทนนั้น ว่าโดยลักษณะมี ๓ คือ
๑. ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการ กลั้นไว้ได้
๒. ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ
๓. อธิวาสนขันติ อดทนจนยัง คำพูดหยาบคายของผู้อื่น ให้กลับอยู่ เป็นเพื่อน เป็นมิตรกันได้
ความอดทนนั้น ว่าโดยลักษณะมี ๓ คือ
๑. ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการ กลั้นไว้ได้
๒. ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ
๓. อธิวาสนขันติ อดทนจนยัง คำพูดหยาบคายของผู้อื่น ให้กลับอยู่ เป็นเพื่อน เป็นมิตรกันได้
๒. โสรัจจะ แปลว่า ความเสงี่ยม ได้แก่การรู้จักทำจิตใจให้แช่มชื่น ผ่องใส เบิกบาน มีกายวาจา สงบเสงี่ยมเรียบร้อย เพราะเมื่ออดทนได้แล้ว ก็ไม่แสดงกิริยากาย วาจา ให้ผิดปกติ คนที่ถูกหมิ่นประมาทให้ได้รับความเจ็บใจ ไม่แสดงการโต้ตอบ เพราะอดทนได้ แต่ยังแสดงอาการผิดปกติ เช่น หน้าบูดบึ้งเมื่อเกิดความโกรธขึ้น หรือครวญครางเมื่อทุกขเวทนาครอบงำเป็นต้น เพราะยังขาดธรรมะคือโสรัจจะ แต่สำหรับผู้มีขันติ อดทนต่อความเจ็บใจได้แล้ว ยังรู้จักทำใจให้สงบแช่มชื่นเบิกบานอีกด้วย คือมีการปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะมีธรรมะ คือโสรัจจะ ธรรมข้อนี้ย่อม เข้าสนับสนุน ขันติให้สูงเด่นขึ้น
อธิบายศัพท์
ขันติ แปลว่า ความอดทน เป็นลักษณะของผู้มีมีน้ำใจเข้มแข็งหนักแน่น เป็นสมบัติของนักรบ เหมือนช้างที่ออกสู่สงครามจะต้องเป็นช้างที่อดทนต่อภัยอันตรายจากข้าศึก ความอดทนเป็นคุณสมบัติของนักปกครองด้วย เป็นมงคลเหตุแห่งความเจริญด้วย.
ขันติ เป็นคำพูดง่าย ๆ แต่แฝงไว้ซึ่งความหมายอย่างลึกซึ้ง เพราะมักจะได้ฟังและใช้พูดกันอยู่เสมอว่า น้ำอด น้ำทน อดได้ ทนได้ หรือ น้ำใจทรหดอดทน ความอดทนนี้ เป็นหลักคำสอนสำคัญประการหนึ่งซึ่งเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่องวันสำคัญของศาสนา วันนั้นคือวันมาฆบูชา พระองค์ได้ประทานพระโอวาท คือ โอวาปาฏิโมกข์เป็นการแสดงหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในที่ประชุมสงฆ์ว่า " ความอดกลั้นคือความทนทานเป็นตบะธรรมอย่างยอด " ดังนี้เป็นต้น.
ความอดทนในที่นี้ หมายเอาความอดทนในฝ่ายดีอย่างเดียว ซึ่งเป็นไปทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ว่าโดยประเภทมี ๓ คือ :-
๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เช่น ทนหนาว ทนร้อนทนต่อคำสั่งสอน ทนในการศึกษาเล่าเรียน และทนในการประกอบการงานอาชีพ ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต.
๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เช่นเมื่อเวลาเกิดอาพาธภายใน หรือกายเป็นบาดแผลเป็นต้น ไม่แสดงอาการทุรนทุรายวุ่นวายจนเกินกว่าเหตุไป.
๓. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่นในคราวที่ได้ประสบอนิฏฐารมณ์ มีคำด่าว่า เสียดสี คำสาปแช่งของผู้อื่นเป็นต้น.ความอดทนนั้น ว่าโดยลักษณะมี ๓ คือ :-
๑. ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้.
๒. ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ.
๓. อธิวาสนขันติ อดทนจนยังคำพูดหยาบคายของผู้อื่นให้กลับอยู่เป็นเพื่อนเป็นมิตรกันได้.
ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้ นั้น ข้อนี้ต้องใช้สตินึกอยู่เสมอว่า คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ต้องกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ถ้าได้ยินได้ฟังเสียงที่ไม่เพราะหู ก็ต้องอดทน โดยนำเอาความดีเข้าต่อสู้เพื่อชนะความไม่ดีนั้น และไม่ก่อเหตุวิวาททุ่มเถียงกันขึ้นไม่ต้องทะเลาะวิวาทกันเพราะคำพูด.
ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ นั้น ข้อนี้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก คนที่อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ คอยระวังคำพูดของตนอยู่เสมอ โดยมากมักจะเป็นคนมีตบะทุกคน คนที่พูดมากจู้จี้ขี้บ่นจนรำคาญ ว่าคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง มักจะเสียตบะ เพราะจะทำให้คนอื่นขาดความเคารพเกรงกลัว ส่วนคนที่มีความระวังเคร่งขรึมไม่ค่อยจู้จี้กับใคร พูดบ้างเป็นครั้งคราว มักจะมีคนเกรงกลัว มีตบะเดชะอยู่ในตัว และอดทนเผาความชั่วในจิตให้หมดไป.
อธิวาสนขันติ ได้แก่การทนได้ ธารได้เหมือนลักษณะของแผ่นดิน แม้ต้นไม้ ภูเขา และอื่น ๆ แผ่นดินก็ยังทรงไว้ได้ อดทนจนเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี คือยอมรับความลำบากกายลำบากใจ ยอมรับด้วยใบหน้าชื่นบาน เขาจะตำหนิติเตียน ด่าว่า หยาบคายเสียดสีให้เจ็บใจอย่างไรก็ทนได้ ไม่แสดงการโต้ตอบ ในที่สุดเรื่องก็สงบไปเอง พระบรมศาสดาถูกพรรคพวกของนางมาคัณฑิยาใส่ความปริภาษพระองค์ด้วยคำด่าต่าง ๆ นานา กล่าวหาว่าพระองค์เป็นอูฐ เป็นลาเป็นต้นถึง ๗ วัน พระองค์ก็ไม่หวั่นไหว พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จหนีไปสู่เมืองอื่น พระองค์กลับตรัสถามว่า ถ้าถูกคนในเมืองนั้นด่าอีกจะทำอย่างไร พระอานนท์ทูลว่า หนีไปเมืองอื่นอีก พระองค์ตรัสซักว่าถ้าถูกคนเมืองนั้นด่าอีกจะทำอย่างไร พระอานนท์ก็ทูลว่า หนีไปเมืองอื่น ๆต่อไป พระองค์ตรัสว่า อย่างนั้นไม่สมควร เรื่องเกิดที่ไหน ควรให้ระงับไปในที่นั้น.
โสรัจจะ แปลว่า ความเสงี่ยม ได้แก่การรู้จักทำจิตใจให้แช่มชื่นผ่องใสเบิกบาน มีกายวาจาสงบเสงี่ยมเรียบร้อย เพราะเมื่ออดทนได้แล้วก็ไม่แสดงกิริยากาย วาจา ให้ผิดปกติ คนที่ถูกหมิ่นประมาทให้ได้รับความเจ็บใจ ไม่แสดงการโต้ตอบ เพราะอดทนได้ แต่ยังแสดงอาการผิดปกติ เช่น หน้าบูดบึ้งเมื่อเกิดความโกรธขึ้น หรือครวญครางเมื่อทุกขเวทนาครอบงำเป็นต้น เพราะยังขาดธรรมะคือโสรัจจะ. แต่สำหรับผู้มีขันติ อดทนต่อความเจ็บใจได้แล้ว ยังรู้จักทำใจให้สงบแช่มชื่นเบิกบานอีกด้วย คือมีการปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะมีธรรมะคือโสรัจจะ ธรรมข้อนี้ย่อมเข้าสนับสนุนขันติให้สูงเด่นขึ้น.
อธิบายชื่อหมวดธรรม
ขันติ และ โสรัจจะ ชื่อว่า ธรรมอันทำให้งาม คำว่า ทำให้งามนั้น อธิบายว่า ความงามมีอยู่ ๒ ประการ คืองามภายนอก ๑ งามภายใน ๑ ความสะสวยงดงามของรูปกายอันธรรมดาปรุงแต่งมาแต่กำเนิดและอาศัยการตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ต่าง ๆ ชื่อว่าความงามภายนอกอันความงามภายนอกนี้ ย่อมเป็นที่นิยมกันทั่วไป ซึ่งได้ในคำว่า "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง " แต่ถึงดังนั้นก็ตาม บุคคลจะอาศัยแต่ความงามภายนอกอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องอาศัยความงามภายในเข้าสนับสนุนด้วยจึงจะเป็นคนงามโดยสมบูรณ์ อาการที่ใจสงบ อดทนไว้ได้แม้ในขณะที่มีอารมณ์ชั่วร้ายมากระทบกระทั่งก็ไม่แสดงออกให้ปรากฏทางกายและวาจา ชื่อว่าความงามภายใน อันความงามภายในนั้น เป็นความงามที่นิยมกันยิ่งนักในพระศาสนา เพราะผู้ที่สมบูรณ์ด้วยขันติและโสรัจจะย่อมมีใจหนักแน่น ไม่แสดงอาการสูง ๆ ต่ำ ๆ แม้จะประสบความดีใจหรือเสียใจก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจ ให้สุภาพเรียบร้อยเป็นปกติ สมภาวะของตน น่าเคารพนับถือ พระบรมศาสดาได้ตรัสแก่เหล่าภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้แตกความสามัคคีกันว่า... ข้อที่เธอทั้งหลายผู้บวชแล้วในพระธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ ควรเป็นผู้อดกลั้นและเป็นผู้สงบเสงี่ยม จะพึงงามในพระธรรมวินัยนี้แล ภิกษุทั้งหลาย..
ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น